เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 2. สีลวรรค 2. นิโครธมิคชาดก (12)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
1. อปัณณกชาดก 2. วัณณุปถชาดก
3. เสริววาณิชชาดก 4. จูฬเสฏฐิชาดก
5. ตัณฑุลนาฬิชาดก 6. เทวธัมมชาดก
7. กัฏฐหาริชาดก 8. คามณิชาดก
9. มฆเทวชาดก 10. สุขวิหาริชาดก

2. สีลวรรค
หมวดว่าด้วยศีล
1. ลักขณชาดก (11)
ว่าด้วยเนื้อชื่อลักขณะ
(พญาเนื้อโพธิสัตว์เห็นลูกทั้ง 2 กำลังมา จึงกล่าวกับหมู่ญาติว่า)
[11] ประโยชน์1ย่อมมีแก่ผู้มีศีล ผู้กระทำการต้อนรับเป็นปกติ
เธอจงดูลูกเนื้อชื่อลักขณะ ที่หมู่ญาติแวดล้อมกลับมา
และจงดูลูกเนื้อชื่อกาฬะนี้ที่เสื่อมจากหมู่ญาติ
ลักขณชาดกที่ 1 จบ

2. นิโครธมิคชาดก (12)
ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อนิโครธ
(แม่เนื้อเห็นลูกกำลังจะไปยังที่อยู่ของเนื้อสาขะ จึงกล่าวสอนว่า)

เชิงอรรถ :
1 ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความเจริญ (ขุ.ชา.อ. 1/11/204)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :5 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [1. เอกกนิบาต] 2. สีลวรรค 5.ขราทิยชาดก (15)
[12] ลูกหรือผู้อื่นควรคบหาเนื้อชื่อนิโครธเท่านั้น
ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อชื่อสาขะ
การตายในสำนักของเนื้อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า
การมีชีวิตในสำนักของเนื้อชื่อสาขะจะประเสริฐอะไร
นิโครธมิคชาดกที่ 2 จบ

3. กัณฑิชาดก (13)
ว่าด้วยเรื่องที่น่าตำหนิคนมีลูกศรเป็นอาวุธเป็นต้น
(เทวดาโพธิสัตว์ตำหนิเรื่องที่ควรตำหนิ 3 อย่าง จึงกล่าวว่า)
[13] น่าตำหนิ คนที่มีลูกศรเป็นอาวุธ ยิงไปเต็มกำลัง
น่าตำหนิ ชนบทที่มีสตรีเป็นผู้นำ
อนึ่ง แม้ชายผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ก็น่าตำหนิ
กัณฑิชาดกที่ 3 จบ

4. วาตมิคชาดก (14)
ว่าด้วยเนื้อสมัน
(พระราชาทรงดำริว่า สภาวะที่เลวกว่าความอยากในรสไม่มี จึงตรัสว่า)
[14] ได้ยินว่า สภาวะอย่างอื่นที่จะเลวยิ่งกว่ารสทั้งหลายไม่มี
รสเป็นสภาวะที่เลวกว่าที่อยู่อาศัย กว่าความสนิทสนม
คนเฝ้าสวนชื่อสัญชัยนำเนื้อสมันที่อาศัยอยู่ในป่าทึบ
มาสู่อำนาจได้ก็เพราะรส
วาตมิคชาดกที่ 4 จบ

5. ขราทิยชาดก (15)
ว่าด้วยลูกของแม่เนื้อที่ชื่อขราทิยา
(พญาเนื้อโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาจะสอนลูกของน้องสาว จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :6 }